หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัคซีนในสุนัข



การทำวัคซีน
การทำวัคซีนจะช่วยป้องกันลูกรักของเราให้ปลอกจากโรคที่อันตรายได้ มีโรคติดเชื้อที่ร้ายแรงหลายโรคที่เกิดขึ้นในสุนัขและไม่สามารถรักษาได้ บางโรคสามารติดต่อถึงคนได้ แนวทางที่ดีที่สุดที่ไม่ให้เกิดโรคขึ้นกับเจ้าตูบที่แสนน่ารักของเรา คือ การปลูกภูมิคุ้มกันโรค หรือที่เรารู้จักกันว่า "การฉีดวัคซีนป้องกันโรค" เนื่องจากมีโรคของสุนัขหลายโรคที่พบได้ในประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดโปรแกรมการฉีดวัคซีนดังกล่าว ทั้งนี้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอาจจะมีความยุ่งยากสำหรับเจ้าของเลย

โรคหวัดและหลอดลมอักเสบติดต่อ(Kennel Cough Syndrome) ตอนอายุ 4-6 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำที่
10-14 สัปดาห์

โรคลำไส้อักเสบติดต่อ(Canine Parvovirus) ตอนอายุ 4-6 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำที่ 10-14 สัปดาห์

โรคไข้หัด ตับอักเสบและเลพโตสไปโรซิส (Canine Distemper, Infectious Hepatitis and Leptospirosis) ตอนอายุ 14-6 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำที่อายุ 10-14 สัปดาห์

โรคพิษสุนัขบ้า(Rabies) ตอนอายุ 12 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำที่อายุ 6 เดือน

หมายเหตุ

ควรงดการอาบน้ำ 7 วันหลังการฉีดวัคซีน
ควรถ่ายพยาธิเมื่อลูกสุนัขอายุ 3-4 สัปดาห์ และทุก 6 เดือน

โรคที่สำคัญในสุนัข

1.โรคพิษสุนัขบ้า(Rabies)
สาเหตุ: Rhabdo virus
การติดต่อ:สามารถติดต่อสู่คนเรา ( Zoonoses )สัตว์เลือดอุ่นโดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเป็นโรคนี้ได้ เชื้อไวรัสนี้มีอยู่ในน้ำลายสัตว์ที่กำลังป่วย จะติดต่อสัตว์อื่นหรือคน โดยการกัด น้ำลายถูกแผลหรือสัมผัสเยื่อเมือกอ่อนที่บุช่องต่างๆของอวัยวะในร่างกายระยะเวลาหลังจากสัตว์หรือ คนได้รับเชื้อถึงแสดงอาการไม่แน่นอน ตั้งแต่1-2สัปดาห์ เป็นหลายเดือนถึงเป็นปี เมื่อสัตว์แสดงอาการป่วยจะแพร่เชื้อทางน้ำลายได้ และสัตว์จะตายภายใน8วันหลังแสดงอาการ แต่เคยพบว่า สามารถตรวจพบเชื้อในน้ำลายได้ก่อนที่สัตว์จะแสดงอาการ 3-7วัน ดังนั้นสัตว์ป่วยจึงสามารถแพร่โรคทางน้ำลายได้ไม่เกิน 15 วันก่อนตาย
อาการ: จะไม่แน่นอนขึ้นกับระยะของโรคจะแบ่งเป็น
1.อาการระยะตื่นเต้น จะเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อการเคี้ยวและกลืน หางตก ลำตัวแข็ง ระยะนี้จะแสดงอาการในช่วง 1-5 วัน
2.อาการระยะอัมพาต จะพบอาการอัมพาตจากส่วนท้ายลำตัวไปยังส่วนหัวอย่างรวดเร็ว สัตว์จะตายเพราะว่าเกิดอัมพาตของระบบหายใจ ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2-3วัน
การป้องกัน:
1.ฉีดวัคซีนให้กับสุนัขและแมวที่มีเจ้าของ
2.การลดจำนวนและการกำจัดสุนัขไม่มีเจ้าของ
3.การป้องกันในคนโดย เฉพาะในกรณีหลังการสัมผัสโรค
4.การสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์

2.โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข(Canine Viral Enteritis ,CVE)

โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข ถือว่าเป็นเป็นโรคติดต่อร้ายแรงมากในกลุ่มสุนัขด้วยกัน
สาเหตุ: Canine corona virus และ Canine parvo virus
การติดต่อ: อุจจาระของสุนัขป่วย เป็นช่องทางของการติดโรคมากที่สุด เชื้อนี้มีความคงทนในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้หลายเดือน
อาการ: สุนัขจะซึมมาก อาเจียน ไม่กินอาหาร ระยะท้ายๆ จะถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด กลิ่นเหม็นคาวจัด สุนัขอยากจะกินแต่น้ำ ส่งผลทำให้เกิดการอาเจียนรุนแรงขึ้น สุนัขอายุน้อยจะมีโอกาสตายสูงมากหากดูแลไม่ถูกต้อง
การป้องกัน/รักษา:
1.การให้วัคซีนป้องกันโรคดีที่สุด ต้องมีการฉีดกระตุ้นหลายครั้ง เพราะการฉีดเพียงครั้งเดียว อาจให้ภูมิคุ้มโรคไม่เพียงพอ
2.การแยกเชื้อไวรัสหรือการตรวจหาเชื้อจากห้องปฏิบัติการ1-2 ครั้ง
3.แม่สุนัขที่มีภูมิคุ้มโรคนี้ สามารถถ่ายทอดสู่ลูกสุนัขได้โดยผ่านรก และทางน้ำนมแรกคลอด
4.การใช้ยาปฏิชีวนะ ประกอบการรักษา ใช้ในวัตถุประสงค์ ที่จะควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเท่านั้น

3.โรคไข้หัดสุนัข(Canine Distemper)

เป็นโรคติดต่อในสุนัข เมื่อป่วยแล้วจะรักษาให้หายได้ยากหรือแทบจะไม่มีโอกาสเลย
สาเหตุ: เกิดจาก Canine distemper virus
การติดต่อ: ที่สำคัญผ่านทางระบบหายใจ จากไวรัสในละอองของสิ่งคัดหลั่ง ในน้ำมูก น้ำลาย และขี้ตา ผ่านทางรกได้ ไม่พบการติดต่อโดยการกิน
อาการของโรค: สุนัขป่วยจะมีไข้สูง ไม่กินอาหารหรือกินน้อย มีขี้มูกขี้ตาเกราะกรัง มีตุ่มหนองใต้ท้องระยะแรก บางตัวอาจมีอาการชักน้ำลายเป็นฟองฟูมปาก ชักรุนแรง มีอาการงับปากติดๆกัน อาการรุนแรง อาจตายใน 1-2สัปดาห์ แต่บางตัวอาจพบว่าป่วยเรื้อรังนานเป็นเดือน ใต้ฝ่าเท้าจะหนาและแข็งตัวขึ้น ร่างกายจะซูบผอมลงไปเรื่อยๆและตายในที่สุด อย่างไรก็ตามสุนัขบางตัวอาจหายป่วยได้แต่โอกาสจะน้อยมาก
การป้องกัน/รักษา:
1.ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียหรือโรคอื่น ๆ โดยเลือกใช้ยาปฎิชีวนะที่เหมาะสมให้เร็วที่สุด
2.การทำวัคซีนป้องกันโรคตามโปรแกรม
3.รักษาตามอาการ เช่นถ้ามีอาการชักให้ยาแก้ชักทันทีการ รักษาพยุงอาการโดยการเลือกให้สารน้ำที่เหมาะสม ร่วมกับวิตามินที่ละลายน้ำ และอาหารที่มีโปรตีนสูงหรือโปรตีนสกัด

4.โรคตับอักเสบติดต่อสุนัข( Infectious Canine Hepatitis)
พบได้ในสุนัขทุกช่วงอายุ แต่พบได้บ่อยที่สุด ในสุนัขอายุน้อยกว่า 1 ปี โรคนี้ไม่ติดต่อไปยังคน และไม่เกี่ยวข้องกับโรคตับอักเสบของคน
สาเหตุ: เกิดจาก Canine Adenovirus-1
การติดต่อ: โดยการกินและการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อไวรัส ที่ขับออกมากับ น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ และปัสสาวะ หรือเชื้อที่ปนเปื้อนกับ เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ เข็มฉีดยา แต่เชื้อนี้ไม่ติดต่อโดยการหายใจ
อาการของโรค: สุนัขป่วยจะมีไข้สูง แสดงอาการปวดท้องรุนแรง อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด และมักตายภายใน 24 ชั่วโมง รายรุนแรงน้อย จะซึม เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องแข็งตึง อุจจาระเหนียวสีโคลน กลิ่นเหม็นจัดหรือมีเลือดปน พบสภาพดีซ่านได้
การป้องกัน/รักษา:
1.การให้วัคซีนตามโปรแกรม
2.ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ เพื่อพยุงสุขภาพเท่านั้น โดยการให้สารน้ำ( fluid therapy ) ที่เหมาะสม ร่วมกับยาปฏิชีวนะวงกว้าง (ชนิดไม่เป็นพิษต่อตับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น